Home » สาระความรู้ทั่วไป » แบตเตอรี่รถยนต์ ตอนที่2
  • แบตเตอรี่รถยนต์ ตอนที่2

    รวมทุกเรื่องราวแบตเตอรี่รถยนต์ แต่ละชนิดต่างกันตรงไหน และคำตอบอีกมากมาย มาดูกันครับใน ตอนที่ 2

    แบตเตอรี่รถ
    แบตเตอรี่รถยนต์แบบน้ำ

      จากบทความที่แล้วเราก็ได้รู้ถึงหน้าที่การทำงานของ แบตเตอรี่รถ และอีกหลายอย่างไปแล้ว ในบทความนี้เรามาพูดถึงเรื่องของ แบตเตอรี่รถยนต์กัน ต่อนะครับมีหัวข้อเรื่อง อุปกรณ์เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์มีอะไรบ้าง,ขั้นตอนการเปลี่ยนแบตรถยนต์ทำอย่างไร,วิธีถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกต้อง,วิธีจั๊มแบตเตอรี่รถยนต์ให้ปลอดภัย,ชนิดของแบตเตอรี่และอายุการใช้งาน รวมถึงข้อแตกต่างของ แบตเตอรี่รถ เราไปดูกันครับ

    อุปกรณ์และเครื่องมือเปลี่ยน แบตเตอรี่รถ ที่จำเป็นมีดังนี้

    1.ผ้า 1 ผืน

    2.จารบีหรือวาสลีน

    3.ถุงมือและแว่นตาป้องกัน

    4.แบตเตอรี่รถยนต์ลูกใหม่ที่จะเปลี่ยน

    5.ประแจปากตายเบอร์ 10,12,13 เพราะบางรุ่นจะใช้น็อตไม่เหมือนกัน

    ขั้นตอนการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์

    1.ควรจอดรถยนต์ในพื้นที่ราบหากเป็นพื้นที่ลาดชันควรหาก้อนหินมากันไว้ที่ล้อ ต่อมาเข้าเกียร์Pและดึงเบรคมือกันรถไหลอีกที

    2.ดับเครื่องยนต์และบิดกุญแจมาที่ตำแหน่งOFF เปิดฝากระโปรงรถพร้อมเตรียมประแจปากตายไว้

    3.สวมถุงมือและแว่นตาให้พร้อม

    4.ถอดที่ล็อคแบตเตอรี่ออกและทำการคลายน็อตที่ขั้วลบก่อนโดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา จากนั้นดึงสายขั้วลบขึ้นมาแล้ววางไว้ด้านข้าง อย่าให้แตะโดนขั้ว

    5.คลายน็อตที่ขั้วบวกแล้วดึงสายขั้วบวก(ส่วนมากจะมีฝาครอบสีแดง) วางไว้ด้านข้าง

    6.ยกแบตเตอรี่ลูกเก่าออก(จะหนักหน่อยนะครับ)แล้วนำแบตเตอรี่ลูกใหม่มาแทน โดยที่ขั้วบวกและลบต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมอย่าให้สลับกัน

    7.นำสายขั้วบวกใส่ขั้วบวกก่อนนะครับจากนั้นนำสายขั้วลบใส่ที่ขั้วลบ โดยการขันน็อตแน่นนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกา หลังจากขันขั้วทั้งสองแน่นแล้วก็ทำความสะอาดขั้วหน่อย หาจารบีหรือวาสลีนมาทาบางๆ และนำที่ล็อคแบตเตอรี่มาใส่ในตำแหน่งเดิม

    วิธีถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์

      ทุกครั้งที่ต้องถอดขั้วแบตเตอรี่จำไว้เสมอว่า ต้องถอดขั้วลบก่อนทุกครั้งแล้วค่อยถอดขั้วบวก และเวลาใส่ขั้วแบตเตอรี่นั้นต้องใส่ขั้วบวกก่อนทุกครั้งแล้วค่อยถอดขั้วลบหรือจำง่ายๆว่า ถอดขั้วลบ ใส่ขั้วบวก เพื่อป้องกันกระแสไฟลัดวงจรจนทำให้อุปกรณ์เสียหายได้

    ข้อแนะนำ

      ถ้าตอนที่เราถอดสายขั้วแบตเตอรี่ออกมานั้นมีคราบขี้เกลือควรใช้น้ำอุ่นและแปลงค่อยๆขัดขี้เกลือออกให้หมดแล้วใช้ผ้าซับน้ำให้แห้ง ทาจารบีหรือวาสลีนเล็กน้อยพอ

      ในปัจจุบันนี้ตามร้านขายแบตเตอรี่รถยนต์จะมีบริการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้อยู่แล้วโดยที่เราไม่ต้องทำเองแต่ในบางครั้งหากเกิดความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนหรือสลับแบตเตอรี่เอง เราจะเข้าใจถึงวิธีและขั้นตอนการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ด้วยตัวเองก็จะไม่ยากอีกต่อไป

    ข้อควรระวัง

    สำหรับรถยนต์บางรุ่นที่ต้องสำรองไฟก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้น สาเหตุมาจากมีกล่อง ECU ควบคุม จะจำเป็นที่ต้องมีกระแสไฟเลี้ยงไว้ตลอด หากเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่หรือมีการถอดออกมาโดยที่ไม่ได้สำรองไฟแบตเตอรี่ไว้ก่อน ค่าต่างๆจะหายหมด อาการคือ รอบเดินเบาจะมีการสะอึกหรือเร่งไม่ขึ้น แต่ไม่ต้องไปให้ช่างที่ไหนปรับจูนอะไรครับถ้าไม่อยากเสียเงินเพียงแค่เราใช้รถไปสักวันสองวัน กล่อง ECU ก็จะค่อยๆจดจำค่าใหม่เอง สังเกตได้จากอาการรอบเดินเบาสะอึกก็จะหายไปเอง

    ข้อดีของการสำรองไฟแบตเตอรี่

    -ไม่ต้องมานั้งเซ็ทกระจกให้ออโต้เหมือนเดิม

    -ไม่ต้องมานั้งเซ็ทนาฬิกาใหม่

    -ไม่ทำให้รอบสะอึกเพราะสาเหตุมาจากกล่อง ECU ขาดกระแสไฟ

    วิธีจั๊มหรือพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์

    1.บิดกุญแจมาที่ตำแหน่ง OFF และปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด

    2.นำรถอีกคันที่แบตเตอรี่ยังอยู่ในสภาพดี ถ้าให้ดีแบตเตอรี่ของรถคันนั้นควรมีขนาดที่ใหญ่กว่าและแอมป์สูงกว่า

    3.นำขั้วบวกของสายแบตเตอรี่(สีแดง)หนีบไปที่ขั้วแบตเตอรี่ขั้วบวกของรถคันที่แบตเตอรี่หมดจากนั้นนำสายขั้วบวกอีกข้างหนีบไปที่ขั้วบวกแบตเตอรี่ของรถอีกคันที่ยังอยู่ในสภาพดี

    4.นำขั้วลบของสายแบตเตอรี่(สีดำ)หนีบไปที่ขั้วแบตเตอรี่ขั้วลบของรถคันที่แบตเตอรี่ดีจากนั้นนำสายขั้วลบอีกข้างหนีบไปที่โลหะหรือเหล็กที่ไม่การเคลือบหรือทำสีของรถคันที่แบตเตอรี่หมด

    5.สตาร์ทเครื่องยนต์ของรถคันที่แบตเตอรี่อยู่ในสภาพดีพร้อมทั้งเร่งรอบเครื่องประมาณ 2,000 รอบ หรือ สตาร์ทเครื่องยนต์ไว้ประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ประจุไฟฟ้าได้ไหลเวียนไปยังแบตเตอรี่ที่หมด

    6.สตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด จากนั้นถอดสายขั้วลบของรถยนต์คันที่แบตเตอรี่หมดก่อนแล้วค่อยถอดสายขั้วลบของรถยนต์คันที่แบตเตอรี่ดีเสร็จแล้วก็ถอดสายขั้วบวกของรถยนต์คันที่แบตเตอรี่หมดแล้วค่อยถอดสายขั้วบวกคันที่แบตเตอรี่ดีเป็นอันเรียบร้อย

    ข้อควรระวัง

    – ระวังไฟฟ้าลัดวงจรจากการที่ขั้วของสายแบตเตอรี่มาสัมผัสกัน

    – ระวังการพ่วงแบตเตอรี่ในสถานที่มีแก้ส หรือมีน้ำมัน เพราะการพ่วงแบตเตอรี่จะเสี่ยงต้องการเกิดประกายไฟ

    – รถยนต์รุ่นใหม่ๆบางรุ่นหากมีการพ่วงแบตเตอรี่และกระแสไฟที่เข้าไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำให้อุปกรณ์บางอย่างเสียหายได้

    – หากไม่มีความรู้ความชำนาญควรโทรหาช่างหรือร้านแบตเตอรี่รถยนต์มาช่วยจะดีที่สุดครับ

    แบตเตอรี่รถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่

    1.แบตเตอรี่แบบน้ำ แบตเตอรี่ชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่ต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่อยู่เสมอ

    ข้อดี คือมีราคาถูกกว่าชนิดอื่น และยังมีความทนทาน

    ข้อเสีย คือต้องคอยเติมน้ำกลั่น แต่ถ้าเติมมากเกินไปโอกาศที่เวลาน้ำกรดในแบตเตอรี่เดือดจะมีแรงดันขึ้นมาทำให้กระเด็นโดนตัวถังรถและอุปกรณ์ต่างๆ จะกัดกร่อนจนเป็นสนิมหรือผุได้

    อายุการใช้งานของแบตเตอรี่แบบน้ำ ส่วนมากจะอยู่ประมาณ 1.5-2 ปี หรือถ้ามีการดูแลรักษาอยู่เป็นประจำอาจจะยาวถึง 3 ปี หรือขึ้นอยู่กับการใช้งาน

    2.แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง แบตเตอรี่ชนิดนี้จะมีคุณสมบัติไกล้คียงกับแบตเตอรี่แบบน้ำ และด้านบนของตัวแบตเตอรี่ก็ยังคงมีช่องสำหรับให้เติมน้ำกลั่นเหมือนแบบน้ำบางรุ่นอาจจะมีสติ้กเกอร์แปะทับอยู่สามารถดีงขึ้นมาและเปิดจุกเพื่อเติมน้ำกลั่นได้

    ข้อดี คือแอมป์สูงกว่าแบบน้ำ การดูแลรักษาง่ายกว่าแบบน้ำและไม่ยุ่งยาก จะต่างกันตรงที่ไม่ต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำกลั่นบ่อยเหมือนแบตเตอรี่แบบน้ำ สาเหตุมาจากเทคโนโลยีที่เหนือกว่าจึงทำให้น้ำกรดไม่ค่อยระเหยออก

    ข้อเสีย คือราคาสูงกว่าแบบน้ำ และยังคงต้องเติมน้ำกลั่นในกรณีที่มีการพร่องลงไปบ้าง

    อายุการใช้งานของแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง จะอยู่ประมาณ 1.5-2 ปี ถึง 3 ปี หรือขึ้นอยู่กับการใช้งาน

    3.แบตเตอรี่แบบแห้ง แบตเตอรี่ชนิดนี้ถ้าสังเกตจากด้านบนบางรุ่นจะเห็นได้ว่าไม่สามารถเติมน้ำกลั่นได้เพราะไม่มีช่องให้เติมน้ำกลั่นและเป็นระบบปิด

    ข้อดี คือไม่ต้องเติมน้ำกลั่นและคอยตรวจสอบระดับน้ำกลั่น สะดวกสบายต่อการใช้งาน และหากไม่ได้สตาร์ทรถหลายวันแบตเตอรี่ชนิดนี้ก็ยังสามารถเก็บกระแสไฟฟ้าได้ยาวนานกว่าแบบน้ำอีกด้วย

    ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างแพงกว่าแบบน้ำ และเนื่องจากแบตเตอรี่ชนิดนี้เป็นระบบปิด รูระบายที่มีขนาดเล็กหากเกิดการอุดตันจะทำให้เกิดปัญหาแรงดันภายในและความร้อน

    อายุการใช้งานของแบตเตอรี่แบบแห้ง ส่วนมากจะอยู่ประมาณ 2.5-3 ปี หรือถ้ามีการดูแลรักษาอยู่เป็นประจำอาจจะยาวถึง 4-5 ปี หรือขึ้นอยู่กับการใช้งาน

      จากที่เราได้รวบรวมเรื่องราวของ แบตเตอรี่รถยนต์ มาไม่ว่าจะป็นตอนที่ 1 หรือตอนที่ 2 ทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะคลายข้อสงสัยและมีวีธีช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ น่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะครับ หากท่านใดพลาดตอนที่ 1 ไปสามารถกดดู แบตเตอรี่รถยนต์ตอนที่ 1 กันได้นะครับ

    สำหรับท่านที่ ต้องการขายรถให้ได้ราคาดี เช็คราคา รับซื้อรถยนต์มือสองได้ที่ PP2CAR.COM รับซื้อรถให้ราคาสูง

    ป้ายกำกับ:, , , , , , , , , ,