Home » สาระความรู้ทั่วไป » หม้อลมเบรค
  • หม้อลมเบรค

    หม้อลมเบรค คือ? ทำหน้าที่อะไร และวิธีตรวจสอบอาการเสียหรือรั่ว ควรดูตรงไหน !

    หม้อลมเบรค,หน้าที่หม้อลมเบรค,อาการหม้อลมเบรคเสีย,อาการหม้อลมเบรครั่ว,วิธีตรวจสอบหม้อลมเบรค,วิธีดูแลรักษาหม้อลมเบรค

    หม้อลมเบรค

     หม้อลมเบรค (Brake Booster) เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวกับระบบเบรคของรถยนต์ หากหม้อลมเบรคเกิดการชำรุดเสียหายจะทำให้เกิดอุบิติเหตุและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เรามาดูกันว่าหม้อลมเบรคคืออะไรมีหน้าที่และการทำงานอย่างไร อาการหม้อลมเบรคเสียหรือรั่วเป็นอย่างไร พร้อมทั้งวิธีดูแลรักษาและวิธีตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูพร้อมๆกันเลยครับ

    หน้าที่และการทำงานของหม้อลมเบรคคือ

     ช่วยผ่อนแรงในขณะที่เราเหยียบแป้นเบรคให้มีความนิ่มและนุ่มนวลขึ้น โดยหลักการทำงานของหม้อลมเบรคจะทำงานแบบระบบสูญญากาศก็ต่อเมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์ ซึ่งภายในของหม้อลมเบรคจะมีแผ่นไดอะเฟรมและท่อที่เชื่อมต่อกับท่อไอดี ในขณะที่สตาร์ทเครื่องยนต์ก็จะมีการดูดอากาศไปใช้ในการจุดระเบิดโดยผ่านมาทางท่อไอดีและท่อที่เชื่อมต่อมายังหม้อลมเบรคด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภายในหม้อลมเบรคเกิดสภาวะสูญญากาศนั้นเอง

     โดยสามารถเปรียบเทียบได้จากลองเหยียบแป้นเบรคในขณะที่สตาร์ทเครื่องยนต์จะรู้สึกว่านิ่ม แต่เมื่อดับเครื่องยนต์เมื่อไหร่ระบบสูญญากาศนั้นจะหายไปเมื่อเราเหยียบแป้นเบรค 2-3 ครั้ง ถ้าเราลองเหยียบแป้นเบรคดูอีกครั้งจะรู้สึกว่าเหยียบแป้นเบรคไม่ค่อยลง แป้นเบรคแข็งมาก

    อาการหม้อลมเบรคเสียหรือรั่ว

    1.เหยียบแป้นเบรคแล้วรู้สึกว่าจมกว่าปกติ หรือเวลาเหยียบแป้นเบรคค้างไว้แล้วรู้สึกว่าค่อยๆจมลง และอาจจะมีเสียงดังของลมออก ฟู่ๆ

    2.เวลาเหยียบแป้นเบรคจะรู้สึกว่าแข็งต้องออกแรงเหยียบมากกว่าปกติ เบรคไม่ค่อยอยู่ เบรคแล้วรถยังไหล ต้องเผื่อระยะในการเบรคมากกว่าปกติ

    วิธีตรวจสอบหม้อลมเบรค

     เมื่อต้องการตรวจสอบว่าหม้อลมเบรคของรถเรานั้นยังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หรือหากมีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าหม้อลมเบรคอาจจะเสียหรือรั่ว เรามาตรวจสอบไปพร้อมๆกันเลยครับ

    1.ไม่ต้องสตาร์ทรถนะครับ แล้วขึ้นไปนั่งพร้อมทั้งเหยียบแป้นเบรคซ้ำๆ เหยียบปล่อยสัก 4-5 ครั้งเพื่อให้ไล่ลมในหม้อลมเบรคให้หมด จนรู้สึกว่าแป้นเบรคแข็งเหยียบไม่ค่อยลง

    2.เหยียบแป้นเบรคค้างไว้เลยครับแล้วก็สตาร์ทเครื่องยนต์ จะรู้สึกได้ว่าแป้นเบรคจะจมลงตามแรงกดของเท้าเรา ลักษณะนี้แปลว่าปกติครับ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าแป้นเบรคยังแข็งเหมือนเดิมแสดงว่าเกิดความเสียหายตรงจุดอื่นครับเช่น

    2.1สายลมเบรคมีรูรั่วหรืออาจจะหลุดได้

    2.2แผ่นไดอะเฟรมในหม้อลมเบรคชำรุดเสียหาย

    วิธีตรวจสอบแผ่นไดอะเฟรมด้วยตัวเองแบบง่ายๆคือ สตาร์ทเครื่องยนต์พร้อมทั้งเหยียบแป้นเบรคค้างไว้ จากนั้นดับเครื่องยนต์ในขณะที่เท้าเรายังคงเหยียบแป้นเบรคค้างไว้ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 30 วินาทีขึ้นไป หากแป้นเบรคไม่ดันเท้าขึ้นมาแสดงว่าปกติ แต่ถ้าหากแป้นเบรคดันเท้าขึ้นมาแสดงว่าแผ่นไดอะเฟรมมีอาการผิดปกติ แผ่นไดอะเฟรมอาจจะรั่วหรือขาดได้

    2.3 ท่อ One way valve ชำรุดเสียหาย

    วิธีตรวจสอบการกักเก็บลมสูญญากาศในหม้อลมเบรค

     สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้อย่างน้อย  2 นาที แล้วดับเครื่องเครื่องยนต์ จากนั้นเหยียบแป้นเบรคให้สุดแล้วปล่อย 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งทำห่างกัน 5 วินาที หากรู้สึกว่าการเหยียบแป้นเบรคในแต่ละครั้งแป้นเบรคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะการเหยียบแป้นเบรคขณะที่ดับเครื่องยนต์ในแต่ละครั้งลมที่กักเก็บไว้ในหม้อลมเบรคก็จะหมดลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเหยียบแป้นเบรคแล้วอยู่ในตำแหน่งเดิมทุกครั้ง แสดงว่าระบบกักเก็บลมสูญญากาศในหม้อลมเบรคผิดปกติอาจเกิดการรั่วซึมได้

     เรื่องของระบบเบรคเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งหากเจออาการผิดปกติตามที่กล่าวมาควรตรวจสอบหาสาเหตุและวิธีแก้ไขเบื้องต้น หรือให้ช่างผู้มีประสบการณ์ตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งส่วน วิธีดูแลรักษาหม้อลมเบรคเบื้องต้นคือ หากน้ำมันเบรคพร่องหรือหายบ่อย หรือมีคราบน้ำมันเบรครั่วซึมตรงหม้อลมเบรคให้รีบใช้ผ้าเช็ดออกทันทีและหาสาเหตุการรั่วซึม หากปล่อยทิ้งไว้นานน้ำมันเบรคจะกัดหม้อลมเบรค และสีของตัวถังรถทำให้เกิดสนิมขึ้นได้

    CREDIT BY : https://pp2car.com

    ป้ายกำกับ:, , , , ,