การดูแลรักษารถ ทุกวันนี้รถยนต์คือยานพาหนะที่จำเป็นในการเดินทาง การตรวจเช็คสภาพรถยนต์ด้วยตัวเราเองไม่ว่าจะเป็น รถใหม่หรือรถมือสอง เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรรู้ไว้เผื่อเดินทางไม่ว่าจะไกล้หรือไกล อาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้ การดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้นนั้นทำให้รถยนต์ที่เรารักนั้นอยู่กับเราได้นานขึ้นและเวลาที่เราอยากขายรถนั้นทำให้รถเราขายได้ราคาอีกด้วย
บทความที่ได้นำเสนอนี้ ใช้กับรถยนต์ได้ทุกรุ่น ไม่ได้เจาะจงรุ่นใดรุ่นหนึ่ง เพียงแต่อยากให้ได้อ่านแล้วนำไปปรับใช้กับรถของท่านเพื่อลดการเสียหายจากการสึกหรอ รู้วิธีการตรวจเช็คเบื้องต้นก่อนจะเกิดการเสียหายหนัก มีวิธีอะไรบ้างเรามาดูกัน
การเติมน้ำในกระปุกนั้นสามารถเติมเต็มได้เลยโดยใช้น้ำเปล่าเติมหรืออาจจะผสมแชมพูลงไปได้เล็กน้อยเพื่อเพิ่มความใสให้กระจก ต่อมาคือการตรวจกระปุกว่ามีการรั่วหรือไม่ โดยหลังจากที่เราเติมน้ำลงไปเต็มแล้วทิ้งไวสักพักค่อยกลับมาดูว่าน้ำอยู่ระดับเดิมหรือไม่หากมีการรั่วซึม น้ำในกระปุกลดลงควรหากระปุกใหม่มาเปลี่ยน
– ข้อแนะนำ หากเติมน้ำในกระปุกเต็มแล้วฉีดไม่ออกให้ดูที่ 2 จุดคือ
– หัวฉีดน้ำกระจกอาจจะอุดตันได้จากฝุ่นหรือสิ่งสกปรกต่างๆ วิธีแก้คือหาเข็มเล็กๆมาแทงผ่านรูฉีดน้ำเพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกพร้อมทั้งปรับระดับให้ฉีดออกมาพอดีไม่สูงหรือต่ำเกินไป
– มอเตอร์ปั้มน้ำตรงกระปุก หากมีการใช้มาเป็นเวลานาน หรือพยายามฉีดน้ำตอนที่น้ำอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้มอเตอร์ไม่มีน้ำให้ปั้มขึ้นไปจะเกิดอาการร้อนจัด และเกิดการเสียหายได้
– ยางปัดน้ำฝนนั้นจำเป็นต่อการมองเห็นอย่างมาก หากรถที่เราใช้มาเป็นระยะเวลานานยางใบปัดน้ำฝนนั้นอาจเกิดการล้ม แข็งตัว หรือขาดได้ ยิ่งยามหน้าฝนแล้ว ยิ่งจำเป็นที่ต้องตรวจสอบก่อนออกเดินทาง การตรวชเช็คนั้นคือ เปิดใช้งานที่ปัดน้ำฝนดูว่า เวลาปัดน้ำต้องไม่ทิ้งลอยคราบต่างๆไว้ หรือปัดแล้วมีเสียงดังกว่าปกติ ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่ เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่
ระดับน้ำมันเครื่องที่ปกตินั้นควรอยู่ระหว่างจุด Full บนสุด และจุด Low ต่ำสุด การตรวจเช็คนั้นควรตรวจในขณะที่เครื่องยังร้อน หลังจากดับเครื่องสักพัก ประมาณ 2-5 นาที แล้วค่อยดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาเช็ดน้ำมันที่ปลายก้านวัด แล้วเสียบเข้าไปจุดเดิมเพื่อดึงออกมาวัดอีกครั้ง รอบการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนั้น มีตั้งแต่ 5,000-10,000 กิโลเมตร แล้วแต่เกรดของน้ำมันเครื่องแต่ละยี่ห้อ
– หากน้ำมันเครื่องต่ำกว่าจุด Low ควรหาน้ำมันเครื่องที่ตรงกับรถรุ่นของเราใส่เติมไปเพื่อไม่ให้ต่ำจนเกินไป ถ้ามีอาการน้ำมันเครื่องหายบ่อยๆ ควรหาช่างที่ชำนาญตรวจเช็คจุดรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง
– ไม่ควรเติมน้ำมันเครื่องให้เกินกว่าจุด Full เพราะอาจจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
– หลังจากเครื่องร้อนแล้ว ดับเครื่องยนต์ ประมาณ 2-5 นาที แล้วดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ (AUTO) ออกมาเช็ดน้ำมันที่ปลายก้านวัดออก แล้วเสียบเข้าไปจุดเดิมเพื่อดึงออกมาวัดอีกครั้ง ควรอยู่ระหว่างจุด Full (MAX) บนสุด และจุด Low (MIN) ต่ำสุด รอบการถ่ายน้ำมันเกียร์ โดยทางบริษัทรถยนต์กำหนดให้ถ่ายคือประมาณ 20,000 โล หรือประมาณ 1-2 ปี
– ถ้าวัดแล้วน้ำมันเกียร์อยู่ต่ำกว่าจุด Low อาจทำให้การหล่อลื่นของระบบเกียร์ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดการสึกหรอ และเสียดสีของเกียร์จนทำให้เกียร์เสียหายได้ ควรให้ช่างที่ชำนาญเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ก่อนออกเดินทางดีกว่า
– น้ำมันรถเกียร์ธรรมดา ไม่สามารถใช้กับรถเกียร์ออโต้ได้นะครับ
ระบบเบรคเป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ ที่ควรตรวจเป็นประจำ การตรวจด้วยสายตาเราเองคือดูให้ระดับน้ำมันเบรคอยู่ระหว่าง Max ขีดบนสุด และจุด Min ขีดต่ำสุด โดยปกตินั้นจะอยู่ที่ ขีดบนสุด ระยะในการเปลี่ยนถ่ายนั้น แนะนำทุกๆ 40,000 โล หรือเช็คทุกๆ 2 ปี
– หากตรวจแล้วพบว่ามีการพร่องต่ำกว่าจุด Min ควรรีบตรวจเช็คว่ามีจุดที่รั่วซึมตรงไหนบ้าง หรือให้ช่างผู้ชำนาญตรวจสอบอีกที เพื่อทำการแก้ไข
– ถ้าจำเป็นต้องเติมน้ำมันเบรคควรระวังกระเด็นไปโดนชิ้นส่วนหรือตัวรถให้นำผ้าเช็ดออกทันที
– ถ้ามีความชื้นหรือมีน้ำปะปนลงไปในน้ำมันเบรคจะทำให้เสื่อมคุณภาพได้
ตรวจเช็คระดับน้ำมันเพาเวอร์ ให้อยู่ขีดบนสุด (Max) เสมอ หากตรวจเช็คแล้วว่ามีการพร่องหรือ ต่ำกว่าขีดล่างสุด (Min) ให้เติมจนถึงระดับขีดบนสุด ระยะในการเปลี่ยนถ่ายนั้น แนะนำทุกๆ 40,000 โล หรือเช็คทุกๆ 2 ปี
– การที่ระดับน้ำมันต่ำเกินไปหรือพร่องหายไปบ่อยๆอาจเกิดจากการรั่วในระบบควรนำรถยนต์ให้ช่างผู้ชำนาญตรวจสอบทันที
– เติมน้ำมันเพาเวอร์ช้าๆ และต้องระวังอย่าให้หก หรือกระเด็นโดนชิ้นส่วนต่างๆ ให้นำผ้าเช็ดออกทันที
– การเลี้ยวซ้ายและขวาสุดนั้น อาจทำให้ระบบ ท่อยาง ลูกยาง ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ฉีกขาด เพราะการเลี้ยวสุดทำให้เกิดแรงดันสูงกว่าปกติ
ตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็น ให้อยู่ขีดบนสุด (Max) เสมอ หากตรวจเช็คแล้วว่ามีการพร่องหรือ ต่ำกว่าขีดล่างสุด (Min) ให้เติมจนถึงระดับขีดบนสุด ระยะในการเปลี่ยนถ่ายนั้น แนะนำทุกๆ 40,000 โล หรือเช็คทุกๆ 2 ปี
– การตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ควรทำตอนขณะเครื่องยนต์เย็น
– หากเติมจนถึงระดับ ขีดบนสุด (MAX) แล้วอีก 1-2 วัน ให้ตรวจดูระดับน้ำอีกทีหากมีการพร่องไปอีก หรือต่ำกว่าขีดล่างสุด (MIN) แสดงว่ามีการรั่วซึมในระบบ ให้ตรวจเช็คหม้อน้ำ อีกทีหรือนำรถยนต์ของท่าน ให้ช่างผู้มีความชำนาญตรวจสอบ
– เริ่มจากการเปิดฝาหม้อน้ำ(ตอนเครื่องยนต์เย็นเท่านั้น) ดูระดับน้ำว่ายังเต็มอยู่ หากมีการพร่องลงไปบ้างใช้น้ำเติมให้เต็ม ส่วนสีของน้ำให้สังเกตุดูว่า ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน ไม่เป็นน้ำที่มีสีสนิมส้มๆ ถ้าน้ำมีสีเหล่านี้ควรรีบเข้าตรวจเช็คสภาพด่วน
– สังเกตุดูท่อน้ำ ท่อยางต่างๆ บริเวณหม้อน้ำ ว่ามีสภาพ แข็งกรอบ หรือมีรอยรั่ว หรือไม่ ดูได้จากคราบน้ำที่เป็นน้ำแห้งๆเกาะอยู่บริเวณรอบๆ
ข้อควรระวัง
– ควรตรวจเช็คระดับน้ำในหม้อน้ำ หรือเปิดฝาหม้อน้ำ ในขณะที่เครื่องยนต์เย็นเท่านั้น
– ถ้าเติมน้ำหล่อเย็นแล้วกระเด็นไปโดนชิ้นส่วนต่างๆ ควรใช้ผ้าเช็ดออกทันที
เริ่มจากการเปิดฝาเติมน้ำกลั่น ดูระดับน้ำกลั่น ว่าแห้งไปหรือไม่ ระดับน้ำกลั่นที่ปกติคือต้องอยู่ตำแหน่ง ขีดบน (UPPER) หรือสูงกว่าแผ่นธาตุภายใน ประมาณ 1 เซนติเมตร หาพบว่าน้ำกลั่นแห้ง ต่ำกว่าขีดล่าง (LOWER) ควรหาน้ำกลั่นมาเติม
– ระวังอย่าเติมน้ำกลั่นจนเต็ม หรือล้นจนเกินไปเพราะอาจทำให้ น้ำกลั่นที่อยู่ในแบตเตอรี่จะล้นออกมา ไปกัดกร่อนตัวถังรถและชิ้นส่วนต่างๆ เสียหายได้
– หลังจากเติมน้ำกลั่นแล้วควรปิดฝาให้แน่น พร้อมทั้งเช็ค ขั้วบวก และขั้วลบ ของแบตเตอรี่ ต้องแน่น ไม่มีคราบตะกรันต่างๆ
– ใช้น้ำกลั่นที่ใช้สำหรับเติมแบตเตอรี่เติม จะเก็บประจุไฟฟ้าได้ดีกว่าน้ำเปล่า
ระบบไฟส่องสว่างนั้น เป็นสิ่งจำเป็นต่อการขับขี่รถยนต์ทุกประเภท ควรตรวจสอบดูว่าไฟส่องสว่างทั้งหมดยังใช้งานได้ดีหรือไม่ ถ้าพบว่ามีหลอดไฟไหนไม่ติดควรหาเปลี่ยนใหม่ทันที ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยในขณะขับรถยนต์โดยเฉพาะเวลากลางคืน ระบบไฟส่องสว่างนั้นมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆคือ
-ที่ควรตรวจสอบนั้นมี ไฟหน้ารถยนต์ ไฟเลี้ยว ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟส่องป้ายทะเบียน ไฟถอย ไฟตัดหมอก
– ที่ควรตรวจสอบนั้นมี ไฟส่องสว่างที่หน้าปัทม์ ไฟส่องสว่างตามจุดต่างๆภายในห้องโดยสาร
– รถยนต์นั่งขนาดเล็ก แรงดันโดยประมาณ 25-30 ปอนด์
– รถยนต์นั่งขนาดกลางถึงใหญ่ แรงดันโดยประมาณ 30 -35 ปอนด์
– รถยนต์กระบะ แรงดันโดยประมาณ 65 ปอนด์
– ลมยางที่อ่อนเกินไป จะทำให้ยางสึกหรอไม่สม่ำเสมอ สึกเฉพาะขอบยางทั้งสองข้าง ทำให้การควบคุมรถยนต์ยาก และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
– ลมยางที่แข็งเกินไป จะทำให้ยางกระด้าง วิ่งแล้วมีเสียงดัง ไม่นิ่มนวล การสึกหรอไม่สม่ำเสมอ สึกเฉพาะตรงกลางหน้ายาง
การดูแลรักษารถ การตรวจเช็ครถยนต์เบื้องต้นด้วยตัวเองทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากเจออาการใดอาการหนึ่ง ควรรีบตรวจเช็คให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง เพราะใช้เวลาเพียงน้อยนิด และรถยนต์ทุกคันจะมีสมุดคู่มือการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆ โปรดศึกษาอีกครั้งนะครับ บางอาการหากไม่สามารถแก้ไขเองได้ แนะนำให้ช่างผู้ชำนาญ ตรวจสอบทันที สุดท้ายนี้ ทีมงานหวังว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ
CREDIT PP2CAR.COM
ป้ายกำกับ:การ ดูแล รักษา ภายใน รถ, การ ดูแล รักษา เครื่องยนต์ รถ, การดูแล รักษารถ, การดูแลรถ, การบำรุงรักษารถ, วิธี ดูแล รักษา รถ การ เปลี่ยน น้ํามันเครื่อง, เช็คสภาพรถ
If you enjoyed this article please consider sharing it!